สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พ.ศ. ๒๔๕๓ – พ.ศ. ๒๔๖๘
บทนำ การประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษกในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีขึ้นในวันที่ ๑๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๕๓ และได้ประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษกสมโภชอีกครั้งใน พ.ศ. ๒๔๕๔ โดยมีการเริ่มเตรียมการประกอบพระราชพิธีในด้านต่างๆ ตั้งแต่วันที่ ๓ พฤศจิกายน เรื่อยมา
การจารึกพระสุพรรณบัฏ เจ้าพนักงานได้เตรียมสถานที่ที่จะจารึกพระสุพรรณบัฏ ในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดารามในวันที่ ๓ พฤศจิกายน โดยเตรียมตั้งโต๊ะจำหลักปิดทองบนธรรมมาสน์ศิลาหน้าบุษบก พระมหามณีรัตนปฏิมากร ๓ โต๊ะ คือ โต๊ะสำหรับตั้งพานทองสองชั้นสำรับใหญ่รองแผ่นพระสุพรรณบัฏตรงกลาง โต๊ะสำหรับจารึกดวงพระชนมพรรษาด้านขวาและโต๊ะสำหรับแกะพระราชลัญจกรด้านซ้าย และตั้งเครื่องนมัสการทองใหญ่กับพระแท่นทรงกราบ ด้านหน้าธรรมาสน์ศิลาตั้งอาสนะสงฆ์ทางด้านเหนือ ส่วนที่ชาลาหน้าพระอุโบสถตั้งศาลบูชาเทวดา ๒ ศาล ซึ่งในตอนค่ำวันนั้นโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนสมมตอมรพันธุ์ ทรงจุดเทียนเครื่องนมัสการ พระราชาคณะ ๑๐ รูป มีพระธรรมเจดีย์เป็นประธาน เจริญพระพุทธมนต์สตปริตร มีโหรบูชาเทวดา
การเตรียมสถานที่ประกอบพระราชพิธี การประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษกในรัชกาลที่ ๖ นี้ ก็ได้ดำเนินการตามพระราชประเพณีที่เคยประกอบกันมาไม่ว่าจะที่พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย พระที่นั่งไพศาลทักษิณและพระที่นั่งจักรพรรดิพิมาน และมีรายละเอียดเครื่องตกแต่งบางอย่างเพิ่มขึ้น พระที่นั่งอัมรินทรวินิจฉัย พระที่นั่งไพศาลทักษิณ พระที่นั่งจักรพรรดิพิมาน พระมณฑปกระยาสนาน โรงพระราชพิธีพราหมณ์
วันเตรียมการพระราชพิธี การเตรียมการพระราชพิธีราชาภิเษกในรัชกาลนี้มีขึ้นระหว่างวันที่ ๗-๑๐ พฤศจิกายน รวม ๔ วัน และวันพระฤกษ์บรมราชาภิเษกในวันที่ ๑๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๕๓
การพระราชพิธีในวันพระฤกษ์บรมราชาภิเษก วันประกอบการพระราชพิธี
เป็นวันที่ ๑๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๕๓ เมื่อใกล้พระฤกษ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จออกจากพระที่นั่ง
จักรีมหาปราสาทโดยกระบวนพระราชยานไปยังพระที่นั่ง
อมรินทรวินิจฉัย ทรงจุดเทียนนมัสการพระสัมพุทธพรรณี แล้วเสด็จขึ้นพระที่นั่งไพศาลทักษิณ พระราชาคณะ ผู้ที่จะได้ถวายน้ำพระพุทธมนต์ขึ้นนั่งอาสนะที่พระที่นั่งไพศาลทักษิณมีพระสงฆ์เข้าไปฉันในพระที่นั่งจักรพรรดิพิมานหลังตะวันตกและที่พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย และโหรพราหมณ์และผู้นำเสด็จในการสรงมูรธาภิเษกอยู่ชานพักด้านตะวันออก ส่วนเจ้าพนักงานพระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชการ และพราหมณ์ ผู้ถวายน้ำสังข์น้ำครอบอยู่ชานพักตะวันตก
กระบวนแห่ การจัดกระบวนแห่จากพระที่นั่งอัฐทิศไปยังพระที่นั่งภัทรบิฐจัดเป็นกระบวนนำเสด็จ ๒ สาย และกระบวนตามเสด็จ ๔ สาย
พระราชพิธีพระที่นั่งภัทรบิฐ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวประทับพระที่นั่งภัทรบิฐผันพระพักตร์ไปยังทิศตะวันออก (บูรพา) สุดเสียงสังข์แล้วหลวงราชมุนี (ที่พระราชครู) อ่านเวทสรรเสริญไกลาสแล้วกราบบังคัมทูลเฉลิมพระปรมาภิไธย ถวายเครื่องเบญจราชกกุธภัณฑ์และเครื่องประดับพระราชอิสริยยศด้วยภาษามคธ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวตรัสรับด้วยภาษามคธ แล้วพระราชครูกราบทูลเป็นภาษาไทยอีก ทรงรับด้วยภาษาไทย
เสด็จออกมหาสมาคม ตอนบ่ายเมื่อใกล้พระฤกษ์ พระบาทสมเด็จ
พระเจ้าอยู่หัวทรงถือพระแสงขรรค์ชัยศรี
เสด็จออกประทับพระที่นั่งพุดตานบนพระที่นั่ง
มหาเศวตฉัตร แล้วทรงพระมหาพิชัยมงกุฎและ
ฉลองพระบาท
การเฉลิมและสมโภชพระราชมณเฑียร การพระราชพิธีเฉลิมพระราชมณเฑียรในรัชกาลนี้ก็เช่นเดียวกับที่เคยได้ปฏิบัติมาในรัชกาลก่อน คือ เสด็จทรงเปลื้องพระชฎาและฉลองพระองค์ครุยในหอพระสุราลัยพิมาน เสด็จพระราชดำเนินขึ้นพระที่นั่งจักรพรรดิพิมานทรงโปรยดอกพิกุลทอง ดอกพิกุลเงิน และเงินสลึง มีนางเชื้อพระวงศ์เชิญพระแสง เครื่องเฉลิมพระราชมณเฑียรและเครื่องราชูปโภคตามเสด็จเข้าในพระราชมณเฑียร ทรงจุดเทียนนมัสการ เสด็จขึ้นพระแท่นที่บรรทมพระเจ้าอัยยิกาเธอ
ฉลองพระองค์รัชกาลที่ ๖
ระหว่างการพระราชพิธี
บรมราชาภิเษก
วันแรก
วันที่ ๗ พฤศจิกายน
เวลาค่ำ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ทรงเครื่องครึ่งยศนายพันเอก
กรมทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ ใน
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
การพระราชพิธีอื่นที่เกี่ยวข้อง ในวันที่ ๑๒-๑๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๕๓ ปรากฏว่า ได้มีการพระราชพิธีอื่นที่เกี่ยวเนื่องกับการพระราชพิธีบรมราชาภิเษกเช่นเดียวกันทุกวัน
การพิธีพิเศษ กล่าวได้ว่าในรัชกาลที่ ๖ นี้ ได้ทรงประกอบการพิธีพิเศษขึ้น ซึ่งในรัชกาลก่อนๆ มิได้เคยปรากฏ คือ งานพระราชพิธีบรมราชาภิเษกสมโภช
การเตรียมการประกอบพระราชพิธี การประกอบพิธีเริ่มในวันที่ ๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๕๔ (ร.ศ. ๑๓๐) มีการประกอบพิธีคือ
การพระราชพิธีบรมราชาภิเษกสมโภช ส่วนน้ำอภิเษกนั้น ที่นำมาจากมณฑลต่างๆ ก็ตั้งน้ำอภิเษกมณฑลละทิศ มีราชบัณฑิตและพราหมณ์ถวายน้ำอภิเษกคู่ละทิศ คือ ทิศตะวันออก (บูรพา)...
การเสด็จเลียบพระนครสถลมารค การเสด็จเลียบพระนครมีในวันที่ ๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๕๔ ก็ได้จัดกระบวนตามที่เคยทำมาในครั้งก่อนๆ และมีทหารปืนใหญ่ยิงปืนใหญ่เฉลิมพระเกียรติ ๑๐๑ นัด