พระราชบันทึก
“ Democracy in Siam ”
พระราชปณิธานเรื่องระบอบประชาธิปไตยของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวปรากฏชัดเจนในพระราชบันทึกที่มีชื่อว่า " Democracy in Siam "
พระราชดำริที่จะปรับปรุงการปกครองท้องถิ่นให้เป็นเทศบาล ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำริที่จะปรับปรุงการปกครองท้องถิ่นให้เป็นแบบเทศบาล เพื่อให้เป็นพื้นฐานของการปกครองระบอบประชาธิปไตยตั้งแต่ต้นรัชกาล
พระราชดำริที่จะพระราชทานรัฐธรรมนูญ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำริในเรื่องรัฐธรรมนูญ รัชสมัยของพระองค์ในช่วงก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครองได้มีการร่างรัฐธรรมนูญ ๒ ฉบับ นับเป็นครั้งแรกของประเทศไทยที่พระมหากษัตริย์เป็นผู้ดำริในเรื่องของการปกครองระบอบพระมหากษัตริย์อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ (Constitutional Monarchy)
สภากรรมการองคมนตรี: พระบรมราโชบายวางรากฐานการปกครองระบอบรัฐสภา การพัฒนาการเมืองไปสู่การปกครองระบอบประชาธิปไตยตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวที่สำคัญประการหนึ่งคือ การปูพื้นฐานการปกครองในระบอบรัฐสภา โดยการจัดระเบียบสภาองคมนตรีใหม่ เรียกว่า สภากรรมการองคมนตรี
พระบรมราโชบายฝึกฝนอบรมประชาชนให้มีความพร้อมสำหรับการปกครองระบอบประชาธิปไตย แนวพระราชดำริในการพัฒนาการเมืองของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว มิได้มีแต่ด้านโครงสร้างทางการเมือง อันได้แก่ รัฐธรรมนูญหรือการจัดตั้งเทศบาล เพื่อสอนราษฎรให้รู้จักใช้สิทธิ ออกเสียงเลือกตั้ง หรือพระราชดำริปรับปรุงสภาองคมนตรี เพื่อให้เป็นสถาบันฝึกสอนการประชุม ปรึกษาหารือแบบรัฐสภาเท่านั้น ทรงมีพระราชดำริที่กว้างไกลไปกว่านั้นคือ การฝึกฝนประชาชนให้มีความพร้อมสำหรับการปกครองระบอบประชาธิปไตย
การเปลี่ยนแปลงการปกครอง วันที่ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๕ เช้าตรู่วันที่ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๕ ณ ลานพระที่นั่งอนันตสมาคม พระราชวังดุสิต " คณะราษฎร " ประกอบด้วยทหารบก ทหารเรือ และพลเรือน ได้ทำการยึดอำนาจด้วยวัตถุประสงค์ที่จะเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เป็นระบอบการปกครองที่พระมหากษัตริย์อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ
ร่างพระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยาม พ.ศ. ๒๔๗๕ ในวันรุ่งขึ้น (๒๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๕) คณะราษฎรได้นำร่างพระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยาม พ.ศ. ๒๔๗๕ พร้อมด้วยร่างพระราชกำหนดนิรโทษกรรมในคราวเปลี่ยนแปลงการปกครองแผ่นดิน พุทธศักราช ๒๔๗๕ ขึ้นทูลเกล้าฯ ถวาย ณ วังศุโขทัย เพื่อลงพระปรมาภิไธย
พระราชพิธีพระราชทานรัฐธรรมนูญ วันที่ ๑๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๕ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเครื่องเต็มยศใหญ่ ประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ สวมสายสะพายนพรัตนราชวราภรณ์ สวมเสื้อครุย และสายสร้อยราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ทรงชฎามหากฐิน เสด็จออกพระที่นั่งอนันตสมาคม
ทรงสละราชสมบัติ พ.ศ. ๒๔๗๗ ก่อนหน้าที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว จะทรงตัดสินพระทัยเสด็จไปรักษาพระเนตรในวันที่ ๑๒ มกราคม พ.ศ. ๒๔๗๖ และประทับ ณ พระตำหนักโนล ประเทศอังกฤษนั้น ได้มีเหตุการณ์ที่ทรงขัดข้องพระราชหฤทัยหลายประการ