บทนำ การสื่อสารทางวิทยุกระจายเสียงได้เริ่มต้นขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๗ พระองค์ทรงส่งเสริมให้ใช้ทั้งด้านการศึกษา ค้าขาย และบันเทิงสำหรับด้านการคมนาคมนั้น ประเทศไทยมีรถไฟที่ใช้หัวจักรดีเซลไฟฟ้าประเทศแรกในเอเชีย
๒๔๖๘ ทางรถไฟสายตะวันออก
เปิดเดินรถ
ทางรถไฟสายตะวันออกที่อยู่ในระหว่างการก่อสร้างจากฉะเชิงเทราถึงอรัญประเทศ ได้ดำเนินการจนแล้วเสร็จและเปิดเดินรถ
๒๔๗๑ หัวจักรดีเซลไฟฟ้าประเทศแรกในเอเชีย นับจากพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงริเริ่มกิจการรถไฟในสยาม กิจการรถไฟได้มีความก้าวหน้าขึ้นตามลำดับ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว กิจการรถไฟหลวงได้มีการพัฒนาขึ้นอีกขั้นหนึ่ง
๒๔๗๒ พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตสร้างทางรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือ ในอดีตการเดินทางไปหนองคายและนครพนมมีความยากลำบากมาก เพราะไม่มีเส้นทางคมนาคมที่สะดวกทุกฤดูกาล
๒๔๗๓ ทางรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือเปิดเดินรถ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จ
พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว มีการเปิดใช้ทางรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือ
๒๔๗๓ พิธีเปิด “สถานีวิทยุกรุงเทพที่พญาไท” การกระจายเสียงทางวิทยุเป็นสื่อสารมวลชนอีกประเภทหนึ่งซึ่งถือกำเนิดขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ โดยได้พระราชทานความสนพระราชหฤทัยและความสนับสนุนอย่างจริงจัง
๒๔๗๓ เปิดโอกาสให้ประชาชนทั่วไป
มีวิทยุ
พระราชบัญญัติวิทยุโทรเลข พ.ศ. ๒๔๕๗ แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. ๒๔๗๓ ซึ่งประกาศใช้เมื่อวันที่ ๓๐ กันยายน พ.ศ. ๒๔๗๓ นั้น มีสาระสำคัญตรงที่เปิดโอกาสให้ประชาชนทั่วไปมีเครื่องรับวิทยุ
๒๔๗๓ การถ่ายทอดพระสุรเสียง
พระราชดำรัสจากพระราชพิธี
ณ พระที่นั่งอัมรินทรวินิจฉัย
ในพระบรมมหาราชวัง
พิธีเปิด “สถานีวิทยุกรุงเทพที่พญาไท” กระทำในวันฉัตรมงคลของพระองค์ เมื่อวันที่ ๒๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๗๓ โดยเป็นเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ของประเทศ คือ มีการถ่ายทอดพระสุรเสียงพระราชดำรัสจากพระราชพิธีฉัตรมงคล ณ พระที่นั่ง
อัมรินทรวินิจฉัย
๒๔๗๔ บริษัท เดินอากาศ จำกัด ในปี พ.ศ ๒๔๗๐ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีได้เสด็จทอดพระเนตรกิจการบินที่กรมอากาศยานดอนเมือง
๒๔๗๗ ประกาศบอกเวลาทางวิทยุและยกเลิกการยิงปืน การวิทยุกระจายเสียงน่าจะได้แพร่หลายในกรุงเทพฯ มากพอสมควรแล้ว ทางราชการจึงได้มีประกาศ