บทนำ การแพทย์ การสาธารณสุข และการพยาบาล ได้รับการสนับสนุนจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบรมวงศานุวงศ์และทางราชการอย่างต่อเนื่อง และเกิดการเปลี่ยนแปลงเข้าสู่การแพทย์สมัยใหม่
๒๔๖๘ กรมสาธารณสุขดำเนินงานตามโครงสร้างใหม่ เดือนเมษายน พ.ศ. ๒๔๖๘ ได้ดำเนินการโอนงานสาธารณสุขใน กรมศุขาภิบาล ไปรวมกับกรมสาธารณสุข ตามโครงสร้างใหม่
๒๔๗๐ เตรียมแพทย์ นิสิตหญิงรุ่นแรก จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยรับนิสิตหญิงเข้าเรียนในแผนกเตรียมแพทย์ นิสิตหญิงรุ่นแรก ๗ คน เข้าเรียนใน พ.ศ. ๒๔๗๐ สำเร็จการศึกษาใน พ.ศ. ๒๔๗๕ จำนวน ๓ คน
๒๔๗๐ สมาคมนางพยาบาล
แห่งกรุงสยาม
พระยาดำรงแพทยาคุณ (ชื่น พุทธิแพทย์) ผู้อำนวยการโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ริเริ่มให้มีการจัดตั้งสมาคมนางพยาบาลแห่งกรุงสยาม จดทะเบียนเป็นสมาคมเมื่อวันที่ ๖ พฤษภาคม
๒๔๗๑ สภาการสาธารณสุขประจำชาติ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งสภาการสาธารณสุขประจำชาติ เนื่องด้วยการผดุงและสงวนไว้ซึ่งอนามัยของประชาชน เป็นกิจการสำคัญสำหรับชาติ การสาธารณสุข
๒๔๗๑ แพทย์ปริญญารุ่นแรก
สำเร็จการศึกษา
รัฐบาลสยาม (สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ
กรมขุนสงขลานครินทร์ ทรงเป็นผู้แทน) กับ
มูลนิธิร็อกกิเฟลเลอร์ลงนามสัญญาความ
ร่วมมือพัฒนาการแพทย์ของไทย มีผลตั้งแต่
พ.ศ. ๒๔๖๖ ถึง พ.ศ. ๒๔๗๒ ตามข้อตกลงมี
กระบวนการปรับปรุงการศึกษาวิชาแพทย์ ยก
ระดับหลักสูตรวิชาแพทย์ของไทยในคณะ
แพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
๒๔๗๒ กำหนดให้แพทย์แผนปัจจุบันและแผนโบราณ มีสองชั้น ใน พ.ศ. ๒๔๗๒ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวมีประกาศเพิ่มเติม กฎเสนาบดี ตามความในมาตรา ๘ และมาตรา ๑๖ แห่งพระราชบัญญัติการแพทย์ พ.ศ. ๒๔๖๖ กำหนดให้แพทย์ทั้งแผนปัจจุบันและแผนโบราณ มีสองชั้น
๒๔๗๓ ตำรา “วิชชาพยาบาล” พ.ศ. ๒๔๗๓ คุณหญิงพิณพากย์พิทยเภท (จำนง เมืองแมน) สำเร็จการศึกษาพยาบาลจากสหรัฐอเมริกา ทำงานเป็นครูพยาบาลที่ศิริราช เขียนตำรา “วิชชาพยาบาล” เป็นตำราทางการพยาบาลภาษาไทยเล่มแรก