บทนำ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
เสด็จขึ้นครองสิริราชสมบัติในช่วงของการ
เปลี่ยนแปลงทางสังคมของโลก และสภาวะ
เศรษฐกิจตกต่ำเพราะเป็นช่วงหลังสงครามโลก
ครั้งที่ ๑
ทรงสนพระทัยเรื่องการศึกษาของชาติ
อย่างมากและมีพระราชดำริว่า “การศึกษา
ไม่ควรแยกจากวัด”
๒๔๖๔ พระไตรปิฎกฉบับสยามรัฐ ๒๔๖๔- ๒๔๗๓ มีพระราชดำริให้จัดพิมพ์พระไตรปิฎกฉบับพิมพ์อักษรไทยที่สมบูรณ์
๒๔๖๙ กำเนิดราชบัณฑิตยสภา เมื่อวันที่ ๑๙ เมษายน พ.ศ. ๒๔๖๙ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ประกาศให้จัดตั้ง “ราชบัณฑิตยสภา” ขึ้น ทรงเห็นสมควรฟื้นฟูกิจการของกรมราชบัณฑิตย์ ซึ่งมีมาแต่โบราณ
๒๔๖๙ หอพระสมุดสำหรับพระนคร ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีพระราชดำริให้รวมหอพุทธสาสนะ สังคหะ หอพระมณเฑียรธรรม และหอพระสมุด
วชิรญาณ เป็นหอสมุดสำหรับบริการประชาชนทั่วไปและพระราชทานนามว่า“หอพระสมุดวชิรญาณสำหรับพระนคร”
๒๔๖๙ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ตั้งอยู่บริเวณ“พระราชวังบวรสถานมงคล” หรือ “วังหน้า”ซึ่งประกอบไปด้วยหมู่พระที่นั่งที่สำคัญในอดีตในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานสถานที่แห่งนี้ ให้เป็นที่ตั้งของพิพิธภัณฑสถาน หรือพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติในปัจจุบัน
๒๔๗๑ ประกวดแต่งหนังสือสำหรับสอนพระพุทธศาสนาสำหรับเด็ก ทรงริเริ่มให้จัดประกวดแต่งหนังสือสอนพระพุทธศาสนาสำหรับเด็ก ขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๗๑ หนังสือเรื่องแรกที่ได้รับพระราชทานรางวัล
๒๔๗๓ พระราชทานปริญญาบัตร
ครั้งแรก
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
และสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี
พระบรมราชินี ได้เสด็จพระราชดำเนินยัง
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเพื่อพระราชทาน
ปริญญาบัตรแก่เวชชบัณฑิตจำนวน ๓๔
คน เมื่อวันที่ ๒๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๗๓
เป็นจุดเริ่มต้นของประเพณีการพระราชทาน
ปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษา
๒๔๗๓ ยกเลิกการเก็บเงินศึกษาพลีหรือภาษีการศึกษาประชาบาล ในปี พ.ศ. ๒๔๗๓ ในขณะที่เศรษฐกิจตกต่ำ ได้โปรดให้ยกเลิกการเก็บเงินศึกษาพลีหรือภาษีการศึกษาประชาบาลเพื่อแบ่งเบาภาระของราษฎรและจ่ายเงินงบประมาณแทน